เป้าหมายความเข้าใจ (Understanding Goals)

ความรู้ : เข้าใจและสามารถอธิบายกระบวนการจัดการชุดข้อมูลต่างๆและวิธีการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง

ทักษะ : การแสวงข้อมูล /การคิด / จัดการข้อมูล / การนำเสนอ

คุณลักษณะ : มีเป้าหมายในการเรียนรู้ / แรงบันดาลใจ / เอื้อเฟื้อข้อมูล

Week 3




เป้าหมายรายสัปดาห์ : เข้าใจและสามารถอธิบายเกี่ยวกับลักษณะการเคลื่อนที่แบบต่างๆ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้

Week
Input
Process
Output
Outcome
3
โจทย์ : แรงและการเคลื่อนที่

Key Questions :
แรงและการเคลื่อนที่มีความเกี่ยวของกับการดำเนินชีวิตของมนุษย์อย่างไร?
- นักเรียนคิดว่าถ้านักเรียนโยนลูกบอลใส่กำแพงลูกบอลจะกระเด็นออกมาได้อย่างไร?

เครื่องมือคิด :
- BAR ร่วมสังเกต  วิเคราะห์และตั้งคำถามจากการออกแบบสายใยอาหาร
วางแผนกิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับ (ความสัมพันธ์สิ่งมีชีวิตกับสิ่งไม่มีชีวิต , บทบาทหน้าที่ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ , ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิต , วัฎจักรในระบบนิเวศ , ทรัพยากรธรรมชาติ , การอุรักษ์ที่ยั่งยืน)
- DAR ระหว่างทำกิจกรรมโดยการตั้งคำถาม  กำลังทำอะไร  เกิดอะไรขึ้น  ติดขัดอะไร  จะแก้ไขอย่างไร
- AAR สิ่งที่ได้เรียนรู้ และวิธีการจัดระบบข้อมูลของนักเรียนแต่ละกลุ่ม
- Show and Share นำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้
- Placemat สรุปประเด็นจากคำถาม ภายหลังการทำกิจกรรม

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
ครู/นักเรียน

สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
ลุกตุ้มแกว่ง
ข้อสอบ O-net
- Internet
สี/ปากกา/กระดาษ
จันทร์ ชั่วโมง
ชง :
ครูและนักเรียนร่วมทำการทดลอง เรื่อง การเคลื่อนที่ของวัตถุ(แนวตรง , โค้ง)
เชื่อม :
นักเรียนประมวลความเข้าใจ ตั้งคำถามต่อกิจกรรมที่ได้เรียนรู้
ชง :
ครูกระตุ้นด้วยชุดคำถาม ดังนี้
“ธรรมชาติของแรงแต่ละชนิด เป็นอย่างไร?”
“ในธรรมชาติมีแรงอะไรบ้าง และส่งผลต่อมนุษย์หรือมนุษย์นำไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง?”
“แรงและการเคลื่อนที่มีความเกี่ยวของกับการดำเนินชีวิตของมนุษย์อย่างไร?”
“ลักษณะการเคลื่อนที่แบบต่างๆ ของวัตถุในธรรมชาติมีรูปแบบใดบ้าง? และในแต่ละรูปแบบมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตอย่างไร?”
“วัตถุมีการเคลื่อนที่ได้อย่างไร?”
“นักเรียนคิดว่าถ้านักเรียนโยนลูกบอลใส่กำแพงลูกบอลจึงกระเด็นออกมาได้อย่างไร?
เชื่อม :
นักเรียนจับคู่ จับสลากเลือกหัวข้อเพื่อสืบค้นข้อมูลและทดลอง (ปริมาณของแรง , แรงลัพธ์ , แรงกิริยา-ปฏิกิริยา , แรงที่กระทำต่อวัตถุ , แรงพยุง , แรงเสียดทาน , โมเมนต์ของแรง , การเคลื่อนที่ของวัตถุ ) พร้อมสรุปเพื่อนำเสนอในรูปแบบที่สนใจ เช่น  ชาร์ตข้อมูลและผลการทดลอง  Power point ฯลฯ
ใช้ :
นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันนำเสนอแผนจัดกิจกรรมการเรียนรู้
พุธ ชั่วโมง
เชื่อม :
นักเรียนแต่ละกลุ่มทำกิจกรรมร่วมกัน พร้อมนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ในทุกมิติ (ปริมาณของแรง , แรงลัพธ์ , แรงกิริยา-ปฏิกิริยา , แรงที่กระทำต่อวัตถุ , แรงพยุง , แรงเสียดทาน , โมเมนต์ของแรง , การเคลื่อนที่ของวัตถุ )
- นักเรียนประมวลความเข้าใจและตอบคำถามเกี่ยวกับหัวข้อที่ได้รับลงในกระดาษ A4
ชง :  
ครูใช้ชุดคำถามกระตุ้นการคิดนี้
นักเรียนมีวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างไร”?
นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง?”
นักเรียนจะพัฒนาและประยุกต์ใช้สิ่งที่ได้เรียนรู้อย่างไร?”
ในขั้นตอนจัดกระบวนการเรียนรู้เกิดปัญหาอะไรบ้างและมีวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างไร”?
เชื่อม : 
นักเรียนแต่ละคน ร่วมระดมความคิดเห็นโดยใช้เครื่องมือคิด Placemat
พฤหัสบดี ชั่วโมง
เชื่อม :
ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกัน (AAR สิ่งที่ได้เรียนรู้ และวิธีการจัดระบบข้อมูลของนักเรียนแต่ละกลุ่ม)
- นักเรียนสรุปความเข้าใจ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่
ในรูปแบบของตนเอง (การ์ตูนช่อง , 
Mind Mapping ,infographic , ฯลฯ )
ศุกร์ ชั่วโมง
ใช้ :
นักเรียนวิเคราะห์ข้อสอบ O-net เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่
- นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
- ร่วมทำการทดลอง “การเคลื่อนที่ของวัตถุ”
- ประมวลความเข้าใจและตั้งคำถามจากกิจกรรมการทดลอง
นักเรียนแต่ละกลุ่มสืบค้นข้อมูล ทดลอง พร้อมนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ในทุกมิติ (ปริมาณของแรง , แรงลัพธ์ , แรงกิริยา-ปฏิกิริยา , แรงที่กระทำต่อวัตถุ , แรงพยุง , แรงเสียดทาน , โมเมนต์ของแรง , การเคลื่อนที่ของวัตถุ )
นักเรียนแต่ละคนประมวลความเข้าใจและตอบคำถามเกี่ยวกับหัวข้อที่ได้รับ
ระดมความคิดเห็นโดยใช้เครื่องมือคิด Placemat
- สรุปความเข้าใจ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ ในรูปแบบของตนเอง
- วิเคราะห์ข้อสอบ O-net เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่
อภิปรายร่วมกันและสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ชิ้นงาน
- สรุปผลการทดลอง “การเคลื่อนที่ของวัตถุ”
ชาร์ตข้อมูลและผลการทดลอง Power point ในการนำเสนอ
- Placemat สรุปประเด็นจากคำถาม ภายหลังการทำกิจกรรม
การ์ตูนช่อง , Mind Mapping ,infographic สรุปความเข้าใจเนื้อหา ในรูปแบบของตนเอง
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ความรู้
เข้าใจและสามารถอธิบายเกี่ยวกับลักษณะการเคลื่อนที่แบบต่างๆ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้

ทักษะ
ทักษะชีวิต
- สามารถออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างน่าสนใจ
- สามารถใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เช่น กระดาษ , สี
ทักษะการสื่อสาร
- สามารถนำเสนอความคิดเห็นของตนเองเกี่ยวกับผลการทดลอง เรื่อง การเคลื่อนที่ของวัตถุ ได้อย่างสร้างสรรค์
- สามารถนำเสนอผลที่ได้จากกระบวนการเรียนรู้ เกี่ยวกับเรื่องแรงและการเคลื่อนที่ ได้ให้ผู้อื่นได้ร่วมเรียนรู้ได้
ทักษะการจัดการข้อมูล
สามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องแรงและการเคลื่อนที่ ได้ด้วยตนเอง
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
ทักษะการคิดสร้างสรรค์   
สามารถคิดสร้างสรรค์และออกแบบกระบวนการทดลองและสรุปผลการทดลอง รวมถึงบันทึกข้อมูลในรูปแบบที่หลากหลายและน่าสนใจ เช่น ชาร์ข้อมูล Timeline  ภาพประกอบ  การ์ตูนช่อง และMind Mapping
ทักษะ ICT
สามารถสืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆในระบบออนไลน์ได้อย่างสร้างสรรค์ รวมถึงเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่หลากหลายและมีประสิทธิภาพเพื่อนำมาประกอบการจัดการเรียนรู้

คุณลักษณะ
-  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น















1 ความคิดเห็น:

  1. ในสัปดาห์นี้เริ่มต้นโดยการชมวิดีโอคลิปสั้นๆเกี่ยวกับการแพร่แบบ ออสโมซีส หลังจากนั้นให้พี่ๆขมวดเป็นความเข้าใจของตนเองลงในสมุด และตอบคำถามเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ จากนั้นมอบหมายหัวข้อให้พี่ๆศึกษาหาข้อมูลและขมวดความเข้าใจพร้อมกับนำเสนอ หลังจากที่ได้หัวข้อและได้สืบค้นข้อมูลบางส่วนพี่ๆได้นำเสนอประเด็นที่จะขมวดเป็นความเข้าใจของกลุ่ม ครูและเพื่อนๆ ช่วยกันเติมประเด็นที่ขาดหายไป เช่น กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช กระบวนการปฏิสนธิของพืชดอก เป็นต้นพี่สามารถสรุปด้วยความเข้าใจของตนเอง ซึ่งเห็นได้จากความพยายาม จากการนำเสนอ ที่เน้นการอ่านน้อยลงซึ่งจะเล่าจากความเข้าใจแทน

    ตอบลบ