เป้าหมายความเข้าใจ (Understanding Goals)

ความรู้ : เข้าใจและสามารถอธิบายกระบวนการจัดการชุดข้อมูลต่างๆและวิธีการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง

ทักษะ : การแสวงข้อมูล /การคิด / จัดการข้อมูล / การนำเสนอ

คุณลักษณะ : มีเป้าหมายในการเรียนรู้ / แรงบันดาลใจ / เอื้อเฟื้อข้อมูล

Week 2



ป้าหมายรายสัปดาห์ : เข้าใจและสามารถอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการดำรงชีวิต และการเปลี่ยนรูปพลังงานได้

Week
Input
Process
Output
Outcome
2
โจทย์ : พลังงาน

Key Questions :
พลังเกิดขึ้นได้อย่างไร?
- นักเรียนคิดว่าบ้านของเรามีการต่อวงจรไฟฟ้าแบบใด?
นักเรียนคิดว่า กระแสไฟฟ้า ความต้านทาน ความต่างศักย์ ในจงจรไฟ มีความสัมพันธ์กันอย่างไร?

เครื่องมือคิด :
- BAR ร่วมสังเกต  วิเคราะห์และตั้งคำถามจากการออกแบบสายใยอาหาร
วางแผนกิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับ (ความสัมพันธ์สิ่งมีชีวิตกับสิ่งไม่มีชีวิต , บทบาทหน้าที่ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ , ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิต , วัฎจักรในระบบนิเวศ , ทรัพยากรธรรมชาติ , การอุรักษ์ที่ยั่งยืน)
- DAR ระหว่างทำกิจกรรมโดยการตั้งคำถาม  กำลังทำอะไร  เกิดอะไรขึ้น  ติดขัดอะไร  จะแก้ไขอย่างไร
- AAR สิ่งที่ได้เรียนรู้ และวิธีการจัดระบบข้อมูลของนักเรียนแต่ละกลุ่ม
- Show and Share นำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้
- Placemat สรุปประเด็นจากคำถาม ภายหลังการทำกิจกรรม

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
ครู/นักเรียน

สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- ชุดการต่อวงจรไฟฟ้า (ถ่านไฟฉาย , สายไฟ , หลอดไฟ )
ข้อสอบ O-net
- Internet
สี/ปากกา/กระดาษ
จันทร์ ชั่วโมง
ชง :
ครูและนักเรียนร่วมทำการทดลอง เรื่อง การต่อวงจรไฟฟ้า
เชื่อม :
นักเรียนประมวลความเข้าใจ ตั้งคำถามต่อกิจกรรมที่ได้เรียนรู้
ชง :
- “พลังงาน คือ สิ่งที่ทำให้สิ่งต่างๆเคลื่อนที่ได้” เราจะเข้าใจประโยคนี้ได้อย่างไร?
- ครูกระตุ้นด้วยชุดคำถาม ดังนี้
 “พลังเกิดขึ้นได้อย่างไร?”
“ความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการดำรงชีวิต การเปลี่ยนรูปพลังงาน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสารและพลังงาน ผลของการใช้พลังงานต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อมมีความเกี่ยวข้องกับเราอย่างไร?”
“ทำไมจึงต้องใช้พลังงานในการดำเนินชีวิต?”
“นักเรียนคิดว่า กระแสไฟฟ้า ความต้านทาน ความต่างศักย์ ในจงจรไฟ มีความสัมพันธ์กันอย่างไร?
เชื่อม :
นักเรียนจับคู่ จับสลากเลือกหัวข้อเพื่อสืบค้นข้อมูลและทดลอง (พลังงานความร้อน , พลังงานแสง , พลังงานไฟฟ้า , พลังงานจลน์ , พลังงานศักย์โน้มถ่วง , กฏการอนุรักษ์พลังงาน) พร้อมสรุปเพื่อนำเสนอในรูปแบบที่สนใจ เช่น  ชาร์ตข้อมูลและผลการทดลอง  Power point ฯลฯ
ใช้ :
นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันนำเสนอแผนจัดกิจกรรมการเรียนรู้
พุธ ชั่วโมง
เชื่อม :
นักเรียนแต่ละกลุ่มทำกิจกรรมร่วมกัน พร้อมนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ในทุกมิติ (พลังงานความร้อน , พลังงานแสง , พลังงานไฟฟ้า , พลังงานจลน์ , พลังงานศักย์โน้มถ่วง , กฏการอนุรักษ์พลังงาน)  
- นักเรียนประมวลความเข้าใจและตอบคำถามเกี่ยวกับหัวข้อที่ได้รับลงในกระดาษ A4
ชง :  
ครูใช้ชุดคำถามกระตุ้นการคิดนี้
นักเรียนมีวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างไร”?
นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง?”
นักเรียนจะพัฒนาและประยุกต์ใช้สิ่งที่ได้เรียนรู้อย่างไร?”
ในขั้นตอนจัดกระบวนการเรียนรู้เกิดปัญหาอะไรบ้างและมีวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างไร”?
เชื่อม : 
นักเรียนแต่ละคน ร่วมระดมความคิดเห็นโดยใช้เครื่องมือคิด Placemat
พฤหัสบดี ชั่วโมง
เชื่อม :
ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกัน (AAR สิ่งที่ได้เรียนรู้ และวิธีการจัดระบบข้อมูลของนักเรียนแต่ละกลุ่ม)
- นักเรียนสรุปความเข้าใจ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่
ในรูปแบบของตนเอง (การ์ตูนช่อง , 
Mind Mapping ,infographic , ฯลฯ )
ศุกร์ ชั่วโมง
ใช้ :
นักเรียนวิเคราะห์ข้อสอบ O-net เรื่อง พลังงาน
- นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
- ทำการทดลอง “การต่อวงจรไฟฟ้า”
ประมวลความเข้าใจและตั้งคำถามจากกิจกรรมการทดลอง
นักเรียนแต่ละกลุ่มสืบค้นข้อมูล ทดลอง พร้อมนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ในทุกมิติ (พลังงานความร้อน , พลังงานแสง , พลังงานไฟฟ้า , พลังงานจลน์ , พลังงานศักย์โน้มถ่วง , กฏการอนุรักษ์พลังงาน)
นักเรียนแต่ละคนประมวลความเข้าใจและตอบคำถามเกี่ยวกับหัวข้อที่ได้รับ
ระดมความคิดเห็นโดยใช้เครื่องมือคิด Placemat
- สรุปความเข้าใจ เรื่อง พลังงานในรูปแบบของตนเอง
- วิเคราะห์ข้อสอบ O-net เรื่อง พลังงาน
อภิปรายร่วมกันและสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ชิ้นงาน
- สรุปผลการทดลอง “การต่อวงจรไฟฟ้า”
ชาร์ตข้อมูลและผลการทดลอง Power point ในการนำเสนอ
- Placemat สรุปประเด็นจากคำถาม ภายหลังการทำกิจกรรม
การ์ตูนช่อง , Mind Mapping ,infographic สรุปความเข้าใจเนื้อหา ในรูปแบบของตนเอง
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ความรู้
เข้าใจและสามารถอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการดำรงชีวิต และการเปลี่ยนรูปพลังงานได้

ทักษะ
ทักษะชีวิต
- สามารถออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างน่าสนใจ
- สามารถใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เช่น กระดาษ , สี
ทักษะการสื่อสาร
- สามารถนำเสนอความคิดเห็นของตนเองเกี่ยวกับผลการทดลอง เรื่อง การต่อวงจรไฟฟ้า ได้อย่างสร้างสรรค์
- สามารถนำเสนอผลที่ได้จากกระบวนการเรียนรู้ เกี่ยวกับเรื่อง พลังงาน ให้ผู้อื่นได้ร่วมเรียนรู้ได้
ทักษะการจัดการข้อมูล
สามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่อง พลังงาน ได้ด้วยตนเอง
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
ทักษะการคิดสร้างสรรค์   
สามารถคิดสร้างสรรค์และออกแบบกระบวนการทดลองและสรุปผลการทดลอง รวมถึงบันทึกข้อมูลในรูปแบบที่หลากหลายและน่าสนใจ เช่น ชาร์ข้อมูล Timeline  ภาพประกอบ  การ์ตูนช่อง และMind Mapping
ทักษะ ICT
สามารถสืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆในระบบออนไลน์ได้อย่างสร้างสรรค์ รวมถึงเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่หลากหลายและมีประสิทธิภาพเพื่อนำมาประกอบการจัดการเรียนรู้

คุณลักษณะ
-  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น











1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ30 เมษายน 2560 เวลา 08:45

    ปดาห์นี้ พี่ๆได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องของ พลังงาน พลังงานที่มีอยู่รอบๆตัวเราที่สามารถพบเจอได้ในชีวิตประจำวัน “พลังงาน คือ สิ่งที่ทำให้สิ่งต่างๆเคลื่อนที่ได้” เราจะเข้าใจประโยคนี้ได้อย่างไร? พี่ๆต่างนิยามคำว่าพลังงาน ในความเข้าใจของตนเอง พี่ออโต้ : พลังงานสามารถเปลี่ยนรูปได้ครับ พี่นิว : พลังงานสามารถเคลื่อนที่ได้ค่ะ พี่พลอย : อะไรก็ตามที่เคลื่อนที่จะเกิดพลังงานค่ะ จากนั้นทบทวนโจทย์ที่พี่ๆได้รับเมื่อสัปดาห์ที่แล้วความงอกงามหรือสิ่งที่พี่ๆได้ไปศึกษาข้อมูลมา จากนั้นครูพาพี่ๆทำการทดลองเกี่ยวกับ พลังงานศักย์โน้มถ่วง โดย การมีอุปกรณ์การทดลองคือ สายยาง ลูกปัด และลูกแก้ว ก่อนทำการทดลองให้พี่ๆทายว่า วัตถุสองก้อนนี้ วัตถุที่มีขนาดเล็กหรือใหญ่กว่าจะตกลงก่อนกัน พี่ๆทายครึ่งต่อครึ่ง และในสัปดาห์นี้พี่ๆม.3 ยังได้มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับพี่ๆป.6 พี่ๆมีความกระตือรือล้นและตั้งใจทำกิจกรรมเป็นอย่างดี

    ตอบลบ