Mind Mapping
Web เชื่อมโยง
Big Questions :
1. การจัดการชุดความรู้มีความสำคัญและจำเป็นอย่างไร ?
2. ทำไมจึงต้องมีการจัดการความรู้ทั้งชุด?
ภูมิหลังของปัญหา:
ในยุคปัจจุบันมีความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี ข้อมูลข่าวสาร หลายคนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย สะดวกและรวดเร็ว มีหลากหลายช่องทางมากกว่าในอดีต แต่ข้อมูลที่หลากหลายนั้นก็แฝงมาด้วยข้อมูลที่จริงและเท็จอีกด้วย การมีวิจารณญาณของผู้รับสารและผู้ส่งสาร แหล่งที่มา ความถูกต้องของเนื้อหา ซึ่งเราไม่สามารถเชื่อถือได้เต็ม 100% เป็นเพราะข้อมูลต่างๆ นั้น ทุกคนสามารถเข้าถึงได้และสามารถคัดลอกข้อมูลต่างๆ กันได้ ความรู้ที่หลากหลายแขนงก็เช่นกัน ทุกคนสามารถเก็บเกี่ยวแต่ละชุดความรู้มาสร้างความเข้าใจเองได้ง่ายจากช่องทางต่างๆ ที่เข้าถึงได้ง่าย เช่น ผ่านสื่อออนไลน์ หนังสือ ฯลฯ แต่ข้อมูลที่หลากหลายนั้น หากขาดการจัดการชุดความรู้แล้วนั้น ก็อาจจะเป็นเพียงตัวความรู้ที่เป็นเพียงก้อนๆ ขาดการเชื่อมโยงเนื้อหาสาระรวมกัน เพื่อสร้างเป็นองค์ความรู้
ดังนั้นการจัดการชุดความรู้นั้นจึงเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่ครูจะนำมาสอนนักเรียน เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมของผู้เรียน ก่อนออกไปเผชิญสู่โลกที่กว้างขึ้น เผชิญกับปัญหาที่ซับซ้อนขึ้น พวกเขาจะได้ใช้ทักษะการจัดการข้อมูลมาใช้ในการแก้ปัญหาได้ในสถานการณ์ต่างๆ
ตารางวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างสาระการเรียนรู้กับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดแต่ละกลุ่มสาระ
หน่วย การจัดการชุดความรู้ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ภาคเรียนที่ 2 Quarter 3 ปีการศึกษา 2559
สาระการเรียนรู้
|
มาตรฐานการเรียนรู้รายวิชาและตัวชี้วัด
| ||||
ว1.1
|
ว2.1
|
ว2.2
|
ว3.1
|
ว3.2
| |
วิทยาศาสตร์
- สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
- ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
-สารและสมบัติของสาร
|
- อธิบายการเจริญเติบโตของมนุษย์จากวัยแรกเกิดจนถึงวัยผู้ใหญ่
(ว1.1 ป.6/1)
- อธิบายการทำงาน
ที่สัมพันธ์กันของระบบย่อยอาหาร ระบบหายใจ และระบบหมุนเวียนเลือดของมนุษย์ (ว1.1 ป.6/2)
- วิเคราะห์สารอาหารและอภิปรายความจำเป็นที่ร่างกาย ต้องได้รับสารอาหารในสัดส่วนที่เหมาะสมกับเพศและวัย
(ว1.1 ป.6/3)
|
- สำรวจและอภิปรายความ สัมพันธ์ ของกลุ่มสิ่งมีชีวิตในแหล่งที่อยู่ต่าง ๆ (ว2.1ป.6/1)
- อธิบายความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิตในรูปของโซ่อาหารและสายใยอาหาร (ว2.1 ป.6/2)
- สืบค้นข้อมูลและอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตกับสภาพแวดล้อมในท้องถิ่น
(ว2.1 ป.6/3)
|
- สืบค้นข้อมูลและอภิปรายแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ
ในแต่ละท้องถิ่นที่เป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต
(ว2.2 ป.6/1)
- วิเคราะห์ผลของการเพิ่มขึ้นของประชากรมนุษย์ต่อการใช้ทรัพยากร ธรรมชาติ
(ว2.2 ป.6/2)
- อภิปรายผลต่อสิ่งมีชีวิตจากการเปลี่ยนแปลง สิ่งแวดล้อม
ทั้งโดยธรรมชาติ และโดยมนุษย์ (ว2.2 ป.6/3)
- อภิปรายแนวทางในการดูแล
รักษาทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อม (ว2.2 ป.6/4)
- มีส่วนร่วมในการดูแล
รักษาสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น
(ว2.2 ป.6/5)
|
- ทดลองและอธิบาย สมบัติของของแข็ง ของเหลว และแก๊ส
(ว3.1 ป.6/1)
๒. จำแนกสารเป็นกลุ่มโดยใช้สถานะหรือเกณฑ์อื่นที่กำหนดเอง (ว3.1ป.6/2)
- ทดลองและอธิบายวิธีการแยกสารบางชนิดที่ผสมกัน โดยการร่อน การตกตะกอน การกรองการระเหิด การระเหยแห้ง (ว3.1ป.6/3)
- สำรวจและจำแนกประเภทของสารต่างๆที่ใช้ในชีวิต ประจำวัน โดยใช้สมบัติและการใช้ประโยชน์ของสารเป็นเกณฑ์ (ว3.1 ป.6/4)
- อภิปรายการเลือกใช้สารแต่ละประเภทได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย (ว3.1 ป.6/5)
|
- ทดลองและอธิบายสมบัติของสาร เมื่อสารเกิดการละลายและเปลี่ยนสถานะ (ว3.2 ป.6/1)
- วิเคราะห์และอธิบายการเปลี่ยนแปลง ที่ทำให้เกิด สารใหม่และมีสมบัติเปลี่ยนแปลงไป(ว3.2 ป.6/2)
- อภิปรายการเปลี่ยนแปลงของสารที่ก่อให้เกิดผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
(ว3.2 ป.6/3)
|
สาระการเรียนรู้
|
มาตรฐานการเรียนรู้รายวิชาและตัวชี้วัด
| ||||
ว5.1
|
ว6.1
|
ว7.1
|
ว7.2
|
ว8.1
| |
วิทยาศาสตร์
- พลังงาน
- กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
- ดาราศาสตร์และอวกาศ
- ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
|
- ทดลองและอธิบายการต่อวงจรไฟฟ้าอย่างง่าย
(ว5.2 ป.6/1)
- ทดลองและอธิบายตัวนำไฟฟ้าและฉนวน ไฟฟ้า
(ว5.2 ป.6/2)
- ทดลองและอธิบายการต่อเซลล์ไฟฟ้าแบบอนุกรม และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
(ว5.2 ป.6/3)
- ทดลองและอธิบายการต่อหลอดไฟฟ้าทั้งแบบอนุกรม แบบขนาน และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ (ว5.21 ป.6/4)
- ทดลองและอธิบายการเกิดสนาม แม่เหล็กรอบสายไฟที่มีกระแสไฟฟ้าผ่าน และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ (ว5.21 ป.6/5)
|
- อธิบาย จำแนกประเภทของหิน โดยใช้ลักษณะของหิน สมบัติของหินเป็นเกณฑ์และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
(ว6.1 ป.6/1)
- สำรวจและอธิบายการเปลี่ยนแปลงของหิน
๓.สืบค้นและอธิบายธรณีพิบัติภัย ที่มีผลต่อมนุษย์และสภาพแวดล้อมในท้องถิ่น (ว6.1 ป.6/2)
|
- สร้างแบบจำลองและอธิบาย การเกิดฤดู ข้างขึ้นข้างแรม สุริยุปราคา จันทรุปราคา และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ (ว7.1 ป.6/1)
|
- สืบค้นอภิปรายความก้าวหน้าและประโยชน์ ของเทคโนโลยีอวกาศ
(ว7.2 ป.6/1)
|
- ตั้งคำถามเกี่ยวกับประเด็นหรือเรื่องหรือสถานการณ์ที่จะศึกษา ตามที่กำหนดให้และตามความสนใจ (ว8.1 ป.6/1)
- วางแผน การสังเกต เสนอการสำรวจตรวจสอบ หรือศึกษาค้นคว้า คาดการณ์ สิ่งที่จะพบจากการสำรวจตรวจสอบ
(ว8.1 ป.6/2)
- เลือกอุปกรณ์ และวิธีการสำรวจตรวจสอบที่ถูกต้องเหมาะสมให้ได้ผลที่ครอบคลุมและเชื่อถือได้ (ว8.1 ป.6/3)
- บันทึกข้อมูลในเชิงปริมาณและคุณภาพ วิเคราะห์ และตรวจสอบผลกับสิ่งที่คาดการณ์ไว้ นำเสนอผลและข้อสรุป
(ว8.1 ป.6/4)
- สร้างคำถามใหม่เพื่อการสำรวจตรวจสอบต่อไป (ว8.1 ป.6/5)
- แสดงความคิดเห็นอย่างอิสระอธิบายลงความเห็นและสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้
(ว8.1 ป.6/6)
- บันทึกและอธิบายผลการสำรวจตรวจสอบตามความเป็นจริงมีเหตุผล และมีประจักษ์พยานอ้างอิง (ว8.1 ป.6/7)
- นำเสนอ’จัดแสดงผลงานโดยอธิบายด้วยวาจา และเขียนรายงานแสดงกระบวนการและผลของงานให้ผู้อื่นเข้าใจ (ว8.1 ป.6/8)
|
สาระการเรียนรู้
|
มาตรฐานการเรียนรู้รายวิชาและตัวชี้วัด
| |||||
ส1.1
|
ส1.2
|
ส2.1
|
ส2.2
|
ส3.1
|
ส3.2
| |
สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
- ศาสนา ศีลธรรมและจริยธรรม
- หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิต
- เศรษฐศาสตร์
|
- วิเคราะห์ความสำคัญของพระพุทธศาสนาในฐานะเป็นศาสนาประจำชาติ หรือความ สำคัญของศาสนาที่ตนนับถือ (ส1.1 ป.6/1)
- สรุปพุทธประวัติตั้งแต่ปลงอายุสังขารจนถึงสังเวชนียสถานหรือประวัติศาสดาที่ตนนับถือตามที่กำหนด
(ส1.1 ป.6/2)
- เห็นคุณค่าและประพฤติ
ตนตามแบบอย่างการดำเนินชีวิต และข้อคิดจากประวัติสาวก ชาดก เรื่องเล่าและศาสนิกชนตัวอย่างตาม
ที่กำหนด (ส1.1 ป.6/3)
- วิเคราะห์ความสำคัญและเคารพพระรัตนตรัย ปฏิบัติตาม ไตรสิกขาและหลักธรรมโอวาท ๓ ในพระพุทธศาสนาหรือหลักธรรมของศาสนาที่ตนนับถือตามที่กำหนด
(ส1.1 ป.6/4)
- ชื่นชมการทำความดีของบุคคลในประเทศตามหลักศาสนาพร้อมทั้งบอกแนวปฏิบัติในการดำเนินชีวิต
(ส1.1 ป.6/5)
- เห็นคุณค่า และสวดมนต์ แผ่เมตตาและบริหารจิต เจริญปัญญา มีสติที่เป็นพื้นฐานของสมาธิใพระพุทธศาสนาหรือการพัฒนาจิตตามแนวทางของศาสนาที่ตนนับถือตามที่กำหนด
(ส1.1 ป.6/6)
- ปฏิบัติตน ตามหลักธรรมของศาสนาที่ตนนับถือเพื่อแก้ปัญหาอบายมุขและ
สิ่งเสพติด (ส1.1 ป.6/7)
- อธิบายหลักธรรมสำคัญของศาสนาอื่นๆโดยสังเขป
๙.อธิบายลักษณะสำคัญของศาสนพิธี พิธีกรรม ของศาสนาอื่นๆ และปฏิบัติตนได้อย่างเหมาะสมเมื่อต้องเข้าร่วมพิธี
(ส1.1 ป.6/8)
|
- อธิบายความรู้เกี่ยวกับสถานที่ต่าง ๆในศาสนสถานและปฏิบัติตนได้อย่างเหมาะสม(ส1.2 ป.6/1)
- มีมรรยาทของความเป็นศาสนิกชนที่ดีตามที่กำหนด (ส1.2 ป.6/2)
- อธิบาย ประโยชน์ของการเข้าร่วมในศาสนพิธี พิธีกรรมและกิจกรรมในวันสำคัญทางศาสนาตามที่กำหนดและปฏิบัติตนได้ถูกต้อง (ส1.2ป.6/3)
- แสดงตนเป็นพุทธมามกะ หรือแสดงตนเป็นศาสนิกชนของศาสนาที่ตนนับถือ
(ส1.2 ป.6/4)
|
- ปฏิบัติตามกฎหมาย ที่
เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน ของครอบครัว แลชุมชน
(ส2.1 ป.6/1)
- วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมตามกาลเวลาและธำรงรักษาวัฒนธรรมอันดีงาม (ส2.1 ป.6/2)
- แสดงออกถึงมารยาทไทยได้เหมาะสมกับกาลเทศะ(ส1.2 ป.6/3)
- อธิบายคุณค่าทางวัฒนธรรมที่แตกต่างกันระหว่างกลุ่มคนในสังคมไทย (ส1.2 ป.6/4)
- ติดตามข้อมูลข่าวสาร เหตุการณ์ต่าง ๆ ในชีวิต ประจำวัน เลือกรับและใช้ข้อมูลข่าวสารในการเรียนรู้ ได้เหมาะสม (ส1.2 ป.6/5)
|
- เปรียบเทียบบทบาท หน้าที่ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและรัฐบาล
(ส2.2 ป.6/1)
- มีส่วนร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่ส่งเสริมประชาธิปไตย ในท้องถิ่นและประเทศ
(ส2.2 ป.6/2)
.- อภิปรายบทบาท ความสำคัญในการใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย
(ส2.2 ป.6/3)
|
- อธิบายบทบาทของผู้ผลิตที่มีความรับผิดชอบ
(ส3.1 ป.6/1)
- อธิบายบทบาทของผู้บริโภคที่รู้ เท่าทัน
(ส3.1 ป6/2)
- บอกวิธีและประโยชน์ของการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน
(ส3.1 ป.6/3)
|
- อธิบาความสัมพันธ์ ระหว่างผู้ผลิต ผู้บริโภค ธนาคารและรัฐบาล(ส3.2 ป.6/1)
- ยกตัวอย่างการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจภายในท้องถิ่น (ส3.2ป.6/2)
|
สาระการเรียนรู้
|
มาตรฐานการเรียนรู้รายวิชาและตัวชี้วัด
| ||||
ส4.1
|
ส4.2
|
ส4.3
|
ส5.1
|
ส5.2
| |
สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
- ภูมิศาสตร์
- ประวัติศาสตร์
|
- อธิบายความสำคัญของวิธีการทางประวัติศาสตร์ในการศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์อย่างง่าย ๆ
(ส4.1 ป.6/1)
- นำเสนอข้อมูลจากหลักฐานที่หลากหลายในการทำความเข้าใจเรื่องราว ในอดีต (ส4.1 ป.6/1)
|
- อธิบายสภาพสังคม เศรษฐกิจและการเมืองของประเทศเพื่อนบ้านในปัจจุบัน (ส4.2 ป.6/1)
- บอกความสัมพันธ์ของกลุ่มอาเซียนโดยสังเขป
(ส4.2 ป.6/2)
|
- อธิบายพัฒนา การของไทยสมัยรัตนโกสินทร์ โดยสังเขป
(ส4.3 ป.6/1)
- อธิบายปัจจัยที่ส่งเสริมความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจและการปกครองของไทยสมัยรัตนโกสินทร์
(ส4.2 ป.6/2)
- ยกตัวอย่างผลงานของบุคคลสำคัญด้านต่าง ๆ สมัยรัตนโกสินทร์ (ส4.2ป.6/3)
- อธิบายภูมิปัญญาไทยที่สำคัญสมัยรัตนโกสินทร์ที่น่าภาคภูมิใจและควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้ (ส4.2 ป.6/4)
|
- ใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์(แผนที่ ภาพถ่ายชนิดต่าง) ระบุลักษณะสำคัญทางกายภาพและสังคมของประเทศ
(ส5.1 ป.6/1)
- อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางกายภาพกับปรากฏการณ์ทาธรรมชาติของประเทศ (ส5.1 ป.6/2)
|
- วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ กับสิ่งแวดล้อม
ทางสังคมในประเทศ
(ส5.2 ป.6/1)
- อธิบายการแปลงสภาพ
ธรรมชาติในประเทศไทยจากอดีตถึงปัจจุบันและผลที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงนั้น (ส5.2ป.6/2)
- จัดทำแผนการใช้ทรัพยากร
ในชุมชน (ส5.2 ป.6/3)
|
สาระการเรียนรู้
|
มาตรฐานการเรียนรู้รายวิชาและตัวชี้วัด
| |||||
พ1.1
|
พ2.1
|
พ3.1
|
พ3.2
|
พ4.1
|
พ5.1
| |
สุขศึกษาและพลศึกษา
- การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์
- ชีวิตและครอบครัว
- การเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย การเล่นเกม กีฬาไทย และกีฬาสากล
- ความปลอดภัยในชีวิต
- การสร้างเสริมสุขภาพ สมรรถภาพ และการป้องกันโรค
|
- อธิบาความสำคัญของระบบสืบพันธุ์ ระบบไหลเวียนโลหิตและระบบหายใจที่มีผลต่อสุขภาพการเจริญเติบโตและพัฒนาการ (พ1.1 ป.6/1)
- อธิบายวิธีการดูแลระบบสืบพันธุ์ ระบบไหลเวียนโลหิตและระบบหายใจให้ทำงานตามปกติ
(พ1.1 ป.6/2)
|
- อธิบายความสำคัญของการสร้างและรักษาสัมพันธภาพกับผู้อื่น (พ2.1 ป.6/1)
- วิเคราะห์พฤติกรรมเสี่ยงที่อาจนำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์การติดเชื้อเอดส์และการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร (พ2.1 ป.6/2)
|
- แสดงทักษะการเคลื่อนไหวร่วมกับผู้อื่นในลักษณะ แบบผลัดและแบบผสมผสานได้ตามลำดับทั้งแบบอยู่กับที่ เคลื่อนที่ และใช้อุปกรณ์ประกอบ และการเคลื่อนไหวประกอบเพลง
(พ3.1 ป.6/1)
- จำแนกหลักการเคลื่อนไหวในเรื่องการรับแรง การใช้แรง และความสมดุลในการเคลื่อนไหวร่างกายในการเล่นเกม เล่นกีฬา และนำผลมาปรับปรุง เพิ่มพูนวิธีปฏิบัติของตนและผู้อื่น (พ3.1 ป.6/2)
- เล่นกีฬาไทย กีฬาสากลประเภทบุคคลและประเภททีมได้อย่างละ 1 ชนิด
(พ3.1 ป.6/3)
- ทักษะกลไกเพื่อปรับปรุง เพิ่มพูนความสามารถของตนและผู้อื่นในการเล่นกีฬา๕. ร่วมกิจกรรมนันทนาการอย่างน้อย
1 กิจกรรมแล้วนำความรู้และหลักการที่ได้ไปใช้เป็นฐานการศึกษาหาความรู้เรื่องอื่น ๆ
(พ3.1 ป.6/4)
|
- อธิบายประโยชน์และหลักการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพสมรรถภาพ ทางกายและ การสร้างเสริมบุคลิกภาพ
(พ3.2 ป.6/1)
- เล่นเกม ที่ใช้ทักษะการวางแผน และสามารถเพิ่มพูนทักษะการออกกำลังกายและเคลื่อนไหวอย่างเป็นระบบ (พ3.2 ป.6/2)
- เล่นกีฬาที่ตนเองชื่นชอบและสามารถประเมินทักษะการเล่นของตนเป็นประจำ
(พ3.2 ป.6/3)
- ปฏิบัติตามกฎ กติกา ตามชนิดกีฬาที่เล่น โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น (พ3.2 ป.6/4)
- จำแนกกลวิธีการรุก
การป้องกัน และนำไปใช้ในการเล่นกีฬา
(พ3.2 ป.6/5)
- เล่นเกมและกีฬาด้วย
ความสามัคคีและมีน้ำใจนักกีฬา
(พ3.2 ป.6/6)
|
- แสดงพฤติกรรม ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อสุขภาพ
(พ4.1 ป.6/1)
- วิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดจากการระบาดของโรคและเสนอแนวทางการป้องกันโรคติดต่อสำคัญที่พบในประเทศไทย
(พ4.1 ป.6/2)
- แสดงพฤติกรรมที่บ่งบอกถึงความรับผิดชอบต่อสุขภาพของส่วนรวม
(พ4.1 ป.6/3)
- สร้างเสริมและปรับปรุงสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพอย่างต่อเนื่อง
(พ4.1 ป.6/4)
|
- วิเคราะห์ผลกระทบจากความรุนแรงของภัยธรรมชาติที่มีต่อร่างกาย จิตใจ และสังคม (พ5.1 ป.6/1)
- ระบุวิธีปฏิบัติตน เพื่อความปลอดภัยจาก ภัยธรรมชาติ
(พ5.1 ป.6/2)
- วิเคราะห์สาเหตุของการติดสารเสพติด และชักชวนให้ผู้อื่นหลีกเลี่ยง สารเสพติด
(พ5.1 ป.6/1)
|
สาระการเรียนรู้
|
มาตรฐานการเรียนรู้รายวิชาและตัวชี้วัด
| |||||
ศ1.1
|
ศ1.2
|
ศ2.1
|
ศ2.2
|
ศ3.1
|
ศ3.2
| |
ศิลปะ
- ทัศนศิลป์
- ดนตรี
- นาฏศิลป์
|
- ระบุสีคู่ตรงข้าม และอภิปรายเกี่ยวกับการใช้ สีคู่ตรงข้ามในการถ่ายทอดความคิดและอารมณ์
(ศ1.1 ป.6/1)
- อธิบายหลักการจัดขนาดสัดส่วนความสมดุลในการสร้างงานทัศนศิลป์
(ศ1.1 ป.6/2)
- สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์จากรูปแบบ ๒ มิติ เป็น ๓ มิติ โดยใช้หลักการของแสงเงาและน้ำหนัก
(ศ1.1 ป.6/3)
- สร้างสรรค์งานปั้นโดยใช้หลักการเพิ่มและลด
(ศ1.1 ป.6/4)
- สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ โดยใช้หลักการของรูปและพื้นที่ว่าง (ศ1.1 ป.6/5)
- สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ โดยใช้สีคู่ตรงข้าม
หลักการจัดขนาดสัดส่วน และความสมดุล
(ศ1.1 ป.6/6)
- สร้างงานทัศนศิลป์เป็นแผนภาพ แผนผัง และภาพประกอบ เพื่อถ่ายทอดความคิด หรือเรื่องราวเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่าง ๆ
(ศ1.1 ป.6/7)
|
- บรรยายบทบาทของงานทัศนศิลป์ที่สะท้อนชีวิตและสังคม
(ศ1.2 ป.6/1)
3 อภิปรายเกี่ยวกับ
อิทธิพลของความเชื่อ
ความศรัทธาในศาสนาที่มีผลต่องานทัศนศิลป์ในท้องถิ่น
(ศ1.2 ป.6/2)
- ระบุ และบรรยายอิทธิพลทาวัฒนธรรม
ในท้องถิ่นที่มีผลต่อการสร้างงานทัศนศิลป์ของบุคคล (ศ1.2 ป.6/2)
|
- บรรยายเพลงที่ฟัง โดยอาศัยองค์ประกอบดนตรี และศัพท์สังคีต
(ศ2.1 ป.6/1)
- จำแนกประเภทและบทบาทหน้าที่เครื่อง
ดนตรีไทยและเครื่องดนตรีที่มาจากวัฒนธรรมต่าง ๆ(ศ2.1 ป.6/2)
- อ่าน เขียนโน้ตไทยและโน้ตสากลทำนองง่าย ๆ(ศ2.1 ป.6/3)
- ใช้เครื่องดนตรีบรรเลงประกอบการร้องเพลงด้นสดที่มีจังหวะและทำนองง่าย ๆ(ศ2.1 ป.6/4)
- บรรยายความรู้สึกที่มีต่อดนตรี (ศ2.1 ป.6/5)
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับทำนอง จังหวะ
การประสานเสียง และคุณภาพเสียงของเพลง
ที่ฟัง (ศ2.1 ป.6/6)
|
- อธิบายเรื่องราวของดนตรีไทยประวัติศาสตร์
(ศ2.2 ป.6/1)
- จำแนกดนตรีที่มาจากยุคสมัยที่ต่างกัน
(ศ2.2 ป.6/2)
- อภิปรายอิทธิพลของวัฒนธรรมต่อดนตรีในท้องถิ่น (ศ2.2 ป.6/3)
|
- สร้างสรรค์การเคลื่อนไหวและการแสดงโดยเน้นการถ่ายทอดลีลาหรืออารมณ์
(ศ3.1 ป.6/1)
- ออกแบบเครื่องแต่งกายหรืออุปกรณ์ประกอบการแสดง อย่างง่าย ๆ
(ศ3.1 ป.6/2)
- แสดงนาฏศิลป์และการละครง่าย ๆ
(ศ3.1 ป.6/3)
- บรรยาย
ความรู้สึกของตนเองที่มีต่องานนาฏศิลป์และการละครอย่างสร้างสรรค์
(ศ3.1 ป.6/4)
- แสดงความคิดเห็นในการชมการแสดง
(ศ3.1 ป.6/5)
- อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างนาฏศิลป์และการละครกับสิ่งที่ประสบ
ในชีวิตประจำวัน
(ศ3.1 ป.6/6)
|
- อธิบายสิ่งที่มีความสำคัญต่อการแสดงนาฏศิลป์และละคร(ศ3.2 ป.6/1)
- ระบุประโยชน์
ที่ได้รับจากการ
แสดงหรือการชม
การแสดงนาฏศิลป์และละคร
(ศ3.2 ป.6/2)
|
สาระการเรียนรู้
|
มาตรฐานการเรียนรู้รายวิชาและตัวชี้วัด
| |||
ง1.1
|
ง2.1
|
ง3.1
|
ง4.1
| |
การงานอาชีพและเทคโนโลยี
- การดำรงชีวิตและครอบครัว
- การออกแบบและเทคโนโลยี
- เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
- การอาชีพ
|
- อภิปรายแนวทางในการทำงานและปรับปรุงการทำงานแต่ละขั้นตอน (ง1.1 ป.6/1)
- ใช้ทักษะการจัดการในการทำงานและทักษะการทำงานร่วมกัน (ง1.1ป.6/2)
- ปฏิบัติตนอย่างมีมารยาทในการทำงานกับครอบครัวและผู้อื่น
(ง1.1 ป.6/3)
|
- อธิบายส่วนประกอบขอระบบเทคโนโลยี (ง2.1 ป.6/1)
- สร้างสิ่งของเครื่องใช้ตามความสนใจ อย่างปลอดภัย โดยกำหนดปัญหา หรือความต้องการรวบรวมข้อมูล เลือกวิธีการ ออกแบบโดยถ่ายทอดความคิดเป็นภาพร่าง ๓ มิติ หรือแผนที่ความคิด ลงมือสร้าง และ ประเมินผล(ง2.1 ป.6/2)
- นำความรู้และทักษะการสร้างชิ้นงานไปประยุกต์ในการสร้างสิ่งของเครื่องใช้ (ง2.1 ป.6/3)
|
- บอกหลักการเบื้องต้นของ
การแก้ปัญหา (ง3.1 ป.6/1)
- ใช้คอมพิวเตอร์ในการค้นหาข้อมูล
(ง3.1 ป.6/2)
- เก็บรักษาข้อมูลที่เป็นประโยชน์
ในรูปแบบต่างๆ (ง3.1 ป.6/3)
- นำเสนอข้อมูลในรูปแบบที่เหมาะสมโดย เลือกใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (ง3.1ป.6/4)
- ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสร้างชิ้นงานจากจินตนาการหรืองานที่ทำในชีวิตประจำวันอย่างมีจิตสำนึกและความรับผิดชอบ(ง3.1 ป.6/5)
|
- สำรวจตนเองเพื่อวางแผนในการเลือกอาชีพ
(ง4.1 ป.6/1)
- ระบุความรู้ความสามารถและคุณธรรมที่สัมพันธ์กับอาชีพที่สนใจ (ง4.1 ป.6/2)
|
สาระการเรียนรู้
|
มาตรฐานการเรียนรู้รายวิชาและตัวชี้วัด
| ||||
จุดเน้นที่1
|
จุดเน้นที่2
|
จุดเน้นที่3
|
จุดเน้นที่4
|
จุดเน้นที่5
| |
หน้าที่พลเมือง
|
- ลักษณะที่ดีของคนไทย (มารยาทไทย กตัญญูกตเวที เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เสียสละ)
- ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม และประเพณี (การแต่งกาย ภาษา ภูมิปัญญา ประเพณี)
|
- การเห็นคุณค่าและการแสดงออกถึงความรักชาติ ยึดมั่นในศาสนา และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์
|
- การดำเนินชีวิตตามวิถีประชาธิปไตย
- การมีส่วนร่วมทางการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
|
- การอยู่ร่วมกันในสังคมแห่งหลากหลาย
- การจัดการความขัดแย้งและสันติวิธี
|
- ซื่อสัตย์สุจริต ขยันหมั่นเพียร อดทน ใฝ่หาความรู้ ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ ยอมรับผลที่เกิดจากการกระทำของตนเอง
|
ปฏิทินการเรียนรู้แบบบูรณาการ PBL หน่วย : “ การจัดการชุดความรู้ ”
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่
2 ปีการศึกษา 2559
week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
1
|
โจทย์: Review Quarter3
Key Questions : นักเรียนมีวิธีการวิเคราะห์และจัดระบบข้อมูลเกี่ยวกับสาระการเรียนรู้วิชาสังคม
ในด้านต่างๆได้อย่างไร?
เครื่องมือคิด :
Think Pair Share
Show and Share
Blackboard Share
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
-
คลิปวิดีโอของนักเรียนเกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อสอบวิชาสังคมศึกษา
- Internet
- สี/ปากกา/กระดาษ
|
- ทบทวนกิจกรรม Home
School Day
- นักเรียนนำเสนอ
คลิปวิดีโอของตนเองเกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อสอบวิชาสังคมศึกษา (ประวัติศาสตร์ ,
ศาสนา , หน้าที่พลเมือง , ภูมิศาสตร์ , เศรษฐศาสตร์)
-
นักเรียนบันทึกความเข้าใจในแบบของตนเองลงในสมุดบันทึก
- นักเรียนออกแบบปฏิทินการเรียนรู้ 10 สัปดาห์
- นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ภาระงาน
- นำเสนอหนังสือเล่มเล็ก(ประวัติศาสตร์ , ศาสนา , หน้าที่พลเมือง ,
ภูมิศาสตร์ , เศรษฐศาสตร์)
- สรุปความเข้าใจลงในสมุดบันทึก
- ออกแบบปฏิทินการเรียนรู้10 สัปดาห์
- แลกเปลี่ยนสะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์
ชิ้นงาน
- หนังสือเล่มเล็ก
- สมุดบันทึก
- ปฏิทินการเรียนรู้ 10 สัปดาห์
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ความรู้
เข้าใจและสามารถจัดระบบข้อมูลเกี่ยวกับสาระการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษาได้
ทักษะ
- ทักษะการวางแผน
- ทักษะการสื่อสาร
- ทักษะการจัดการข้อมูล
- ทักษะการอยู่ร่วมกัน
คุณลักษณะ
- มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
|
2
|
โจทย์ : พลังงาน
Key Questions :
- พลังเกิดขึ้นได้อย่างไร?
-
นักเรียนคิดว่าบ้านของเรามีการต่อวงจรไฟฟ้าแบบใด?
- นักเรียนคิดว่า กระแสไฟฟ้า ความต้านทาน ความต่างศักย์ ในจงจรไฟ
มีความสัมพันธ์กันอย่างไร?
เครื่องมือคิด :
Round Robin
Plate Mat
Chard and Chart
Think Pair Share
Show and Share
Blackboard Share
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
-
ชุดการต่อวงจรไฟฟ้า (ถ่านไฟฉาย , สายไฟ , หลอดไฟ
)
- ข้อสอบ O-net
- Internet
- สี/ปากกา/กระดาษ
|
-
ครูและนักเรียนร่วมทำการทดลอง เรื่อง การต่อวงจรไฟฟ้า
- “พลังงาน
คือ สิ่งที่ทำให้สิ่งต่างๆเคลื่อนที่ได้” เราจะเข้าใจประโยคนี้ได้อย่างไร?
-
ครูกระตุ้นด้วยชุดคำถาม
“พลังเกิดขึ้นได้อย่างไร?”
“ความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการดำรงชีวิต
การเปลี่ยนรูปพลังงาน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสารและพลังงาน
ผลของการใช้พลังงานต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อมมีความเกี่ยวข้องกับเราอย่างไร?”
“ทำไมจึงต้องใช้พลังงานในการดำเนินชีวิต?”
“นักเรียนคิดว่า
กระแสไฟฟ้า ความต้านทาน ความต่างศักย์ ในจงจรไฟ มีความสัมพันธ์กันอย่างไร?”
- นักเรียนจับคู่
จับสลากเลือกหัวข้อเพื่อสืบค้นข้อมูลและทดลอง (พลังงานความร้อน , พลังงานแสง ,
พลังงานไฟฟ้า , พลังงานจลน์ , พลังงานศักย์โน้มถ่วง , กฏการอนุรักษ์พลังงาน)
พร้อมสรุปเพื่อนำเสนอในรูปแบบที่สนใจ เช่น ชาร์ตข้อมูลและผลการทดลอง Power
pointฯลฯ
-
นักเรียนประมวลความเข้าใจและตอบคำถามเกี่ยวกับหัวข้อที่ได้รับลงในกระดาษ A4
-
ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกัน (AARสิ่งที่ได้เรียนรู้
และวิธีการจัดระบบข้อมูลของนักเรียนแต่ละกลุ่ม)
-
นักเรียนสรุปความเข้าใจ เรื่อง พลังงานในรูปแบบของตนเอง (การ์ตูนช่อง ,Mind
Mapping , infographic , ฯลฯ )
- นักเรียนวิเคราะห์ข้อสอบ O-net เรื่อง
พลังงาน
-
นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ภาระงาน
- ทำการทดลอง
เรื่อง การต่อวงจรไฟฟ้า
- สืบค้นข้อมูล ทดลอง และนำเสนอ
- ประมวลความเข้าใจและตอบคำถาม
- สรุปความเข้าใจ
เรื่อง พลังงานในรูปแบบของตนเอง
- วิเคราะห์ข้อสอบ O-net เรื่อง
พลังงาน
- อภิปรายร่วมกันและสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ชิ้นงาน
- ผลการทดลอง
เรื่อง การต่อวงจรไฟฟ้า
- ชาร์ตข้อมูลและผลการทดลอง Power
point ในการนำเสนอ
- การ์ตูนช่อง , Mind Mapping ,infographic สรุปความเข้าใจเนื้อหา ในรูปแบบของตนเอง
-
สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ความรู้
เข้าใจและสามารถอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการดำรงชีวิต
และการเปลี่ยนรูปพลังงานได้
ทักษะ
- ทักษะการวางแผน
- ทักษะICT
- ทักษะการสื่อสาร
- ทักษะการเรียนรู้
คุณลักษณะ
- มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
|
3
|
โจทย์ :
แรงและการเคลื่อนที่
Key Questions :
- แรงและการเคลื่อนที่มีความเกี่ยวของกับการดำเนินชีวิตของมนุษย์อย่างไร?
-
นักเรียนคิดว่าถ้านักเรียนโยนลูกบอลใส่กำแพงลูกบอลจึงกระเด็นออกมาได้อย่างไร?
เครื่องมือคิด :
Round Robin
Plate Mat
Chard and Chart
Think Pair Share
Show and Share
Blackboard Share
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- ลุกตุ้มแกว่ง
- ข้อสอบ O-net
- Internet
- สี/ปากกา/กระดาษ
|
-
ครูและนักเรียนร่วมทำการทดลอง เรื่อง การเคลื่อนที่ของวัตถุ (แนวตรง ,
โค้ง)
-
ครูกระตุ้นด้วยชุดคำถาม
“ธรรมชาติของแรงแต่ละชนิด
เป็นอย่างไร?”
“ในธรรมชาติมีแรงอะไรบ้าง
และส่งผลต่อมนุษย์หรือมนุษย์นำไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง?”
“แรงและการเคลื่อนที่มีความเกี่ยวของกับการดำเนินชีวิตของมนุษย์อย่างไร?”
“ลักษณะการเคลื่อนที่แบบต่างๆ
ของวัตถุในธรรมชาติมีรูปแบบใดบ้าง? และในแต่ละรูปแบบมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตอย่างไร?”
“วัตถุมีการเคลื่อนที่ได้อย่างไร?”
“นักเรียนคิดว่าถ้านักเรียนโยนลูกบอลใส่กำแพงลูกบอลจึงกระเด็นออกมาได้อย่างไร?”
- นักเรียนจับคู่
จับสลากเลือกหัวข้อเพื่อสืบค้นข้อมูลและทดลอง (ปริมาณของแรง , แรงลัพธ์ ,
แรงกิริยา-ปฏิกิริยา , แรงที่กระทำต่อวัตถุ ,
แรงพยุง , แรงเสียดทาน , โมเมนต์ของแรง , การเคลื่อนที่ของวัตถุ )
พร้อมสรุปเพื่อนำเสนอในรูปแบบที่สนใจ เช่น ชาร์ตข้อมูลและผลการทดลอง Power
pointฯลฯ
-
นักเรียนประมวลความเข้าใจและตอบคำถามเกี่ยวกับหัวข้อที่ได้รับลงในกระดาษ A4
-
ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกัน (AARสิ่งที่ได้เรียนรู้
และวิธีการจัดระบบข้อมูลของนักเรียนแต่ละกลุ่ม)
-
นักเรียนสรุปความเข้าใจ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่
ในรูปแบบของตนเอง (การ์ตูนช่อง ,Mind Mapping , infographic , ฯลฯ )
- นักเรียนวิเคราะห์ข้อสอบ O-net เรื่อง
แรงและการเคลื่อนที่
- นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ภาระงาน
- ทำการทดลอง
เรื่อง การเคลื่อนที่ของวัตถุ
- สืบค้นข้อมูล ทดลอง และนำเสนอ
- ประมวลความเข้าใจและตอบคำถาม
- สรุปความเข้าใจ
เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ ในรูปแบบของตนเอง
- วิเคราะห์ข้อสอบ O-net เรื่อง
แรงและการเคลื่อนที่
- อภิปรายร่วมกันและสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ชิ้นงาน
- ผลการทดลอง
เรื่อง การเคลื่อนที่ของวัตถุ
- ชาร์ตข้อมูลและผลการทดลอง Power
point ในการนำเสนอ
- การ์ตูนช่อง , Mind Mapping ,infographic สรุปความเข้าใจเนื้อหา ในรูปแบบของตนเอง
-
สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ความรู้
เข้าใจและสามารถอธิบายเกี่ยวกับลักษณะการเคลื่อนที่แบบต่างๆ
และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้
ทักษะ
- ทักษะการวางแผน
- ทักษะICT
- ทักษะการสื่อสาร
- ทักษะการเรียนรู้
คุณลักษณะ
- มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
|
4
|
โจทย์ : โลก
ดาราศาสตร์ และอวกาศ
Key Questions :
-
นักเรียนคิดว่ากระบวนการต่างๆที่เกิด
ขึ้นบนผิวโลกและในโลกมีการเกิดอย่างไร?และสัมพันธ์กันอย่างไร?
- โลกในปัจจุบันแตกต่างกับโลกในอดีตอย่างไร
(ตำแหน่งประเทศ ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ)
มีปัจจัยใดบ้างที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภูมิประเทศ?”
-
ความสัมพันธ์ระหว่าง
ดวงอาทิตย์ โลก ดวงจันทร์และดาวเคราะห์อื่น
ๆ ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตบนโลกอย่างไร?
-
เทคโนโลยีอวกาศมีความสำคัญอย่างไร?
เครื่องมือคิด :
Round Robin
Plate Mat
Chard and Chart
Think Pair Share
Show and Share
Blackboard Share
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- รูปภาพปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ
- ข้อสอบ O-net
- Internet
- สี/ปากกา/กระดาษ
|
-
ครูและนักเรียนร่วมทำการทดลอง เรื่อง ข้างขึ้นข้างแรม
-
ครูกระตุ้นด้วยชุดคำถาม
“หลักการแบ่งโครงสร้างของโลกเป็นอย่างไร?”
“โลกในปัจจุบันแตกต่างกับโลกในอดีตอย่างไร
(ตำแหน่งประเทศ ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ) มีปัจจัยใดบ้างที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
ภูมิประเทศ?”
“โลกกำเนิดขึ้นได้อย่างไร?”
“ดวงอาทิตย์เกิดขึ้นได้อย่างไรมีความสัมพันธ์กับโลกอย่างไร?”
“ความสัมพันธ์ระหว่าง
ดวงอาทิตย์ โลก ดวงจันทร์ และดาวเคราะห์อื่น ๆ
ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตบนโลกอย่างไร?”
“เทคโนโลยีอวกาศมีความสำคัญอย่างไร?”
- นักเรียนจับคู่
จับสลากเลือกหัวข้อเพื่อสืบค้นข้อมูลและทดลอง (บรรยากาศ , ดิน ,หินและแร่ ,โลกของเรา , ระบบสุริยะ
, ดวงดาวในท้องฟ้า , เทคโนโลยีอวกาศ)
พร้อมสรุปเพื่อนำเสนอในรูปแบบที่สนใจ เช่น ชาร์ตข้อมูลและผลการทดลอง Power
point ฯลฯ
-
นักเรียนประมวลความเข้าใจและตอบคำถามเกี่ยวกับหัวข้อที่ได้รับลงในกระดาษ A4
-
ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกัน (AARสิ่งที่ได้เรียนรู้
และวิธีการจัดระบบข้อมูลของนักเรียนแต่ละกลุ่ม)
-
นักเรียนสรุปความเข้าใจ เรื่อง โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
(การ์ตูนช่อง , Mind Mapping ,infographic , ฯลฯ )
- นักเรียนวิเคราะห์ข้อสอบ O-net เรื่อง
โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
-
นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ภาระงาน
- ทำการทดลอง
เรื่อง ข้างขึ้นข้างแรม
- สืบค้นข้อมูล ทดลอง และนำเสนอ
- ประมวลความเข้าใจและตอบคำถาม
- สรุปความเข้าใจ
เรื่อง โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ ในรูปแบบของตนเอง
- วิเคราะห์ข้อสอบ O-net เรื่อง
โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
- อภิปรายร่วมกันและสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ชิ้นงาน
- ผลการทดลอง
เรื่อง ข้างขึ้นข้างแรม
- ชาร์ตข้อมูลและผลการทดลอง Power
point ในการนำเสนอ
- การ์ตูนช่อง , Mind Mapping ,infographic สรุปความเข้าใจเนื้อหา ในรูปแบบของตนเอง
-
สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ความรู้
เข้าใจและสามารถอธิบายกระบวนการต่างๆที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและในโลกได้
และสามารถอธิบายความสัมพันธ์ระหว่าง ดวงอาทิตย์ โลก ดวงจันทร์และดาวเคราะห์อื่น ๆ
ที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตบนโลกได้
ทักษะ
- ทักษะการวางแผน
- ทักษะICT
- ทักษะการสื่อสาร
- ทักษะการเรียนรู้
คุณลักษณะ
- มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
|
5-6
|
โจทย์: สารและสมบัติของสาร
Key Questions
- สมบัติของสารแต่ละชนิดเป็นอย่างไร?
- การเปลี่ยนแปลงของสารเกิดขึ้นอย่างไร?
-ทำไมจึงต้องใช้พลังงานในการดำเนินชีวิต?
เครื่องมือคิด :
Round Robin:
Show and Share:
Wall Thinking:
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- Internet
- สี/ปากกา/กระดาษ
|
- ครูนำ ลูกแก้ว,เมล็ดพืช,กระดาษชิ้นเล็กๆ,เศษไม้,เงินเหรียญ,น้ำตาลและทรายใส่รวมไว้ในแก้วใบเดียวกัน
- แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม
แจกแก้วที่บรรจุลูกแก้ว,เมล็ดพืช,กระดาษชิ้นเล็กๆ,เศษไม้,เงินเหรียญ,น้ำตาลและทราย
ให้นักเรียนกลุ่มละหนึ่งใบ
-
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนเห็นอะไร?, นักเรียนคิดว่าในแก้วมีอะไรบ้าง/อย่างไร?”
-
นักเรียนทำการสังเกตว่าภายในแก้วมีอะไรบ้างโดยห้ามเทสิ่งของต่างๆออกจากแก้ว
-
สมาชิกภายในกลุ่มอภิปรายร่วมกัน
-
ครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถาม “นักเรียนจะสามารถแยกสิ่งต่างๆที่อยู่ภายในแก้วได้อย่างไร?”
-
ครูเตรียมอุปกรณ์ในการแยกสารไว้ให้นักเรียน เช่น กระชอน,แม่เหล็ก,
กระดาษกรอง,กรวย ฯลฯ
-
นักเรียนเลือกอุปกรณ์เพื่อทำการคัดแยก
-
ครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถาม “เพราะเหตุใดนักเรียนถึงเลือกอุปกรณ์ชนิดนั้นๆ?”
-
นักเรียนทำการแยกและบันทึกผลว่าภายในแก้วมีอะไรบ้าง
แต่ละอย่างเหมือนหรือต่างกันอย่างไร?
-
ครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถาม “นักเรียนจะแยกทรายและน้ำตาลออกจากกันได้อย่างไร?”
-
สมาชิกภายในกลุ่มอภิปรายร่วมกัน
-
ครูเพิ่มอุปกรณ์ให้ คือ น้ำ,กระดาษกรองและบิกเกอร์ จากนั้นให้นักเรียนนำ
ทรายและน้ำตาลละลายในน้ำ
-
นักเรียนสังเกตการละลาย
-
ครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถาม “ทำไมต้องเอาน้ำตาลและมามาละลายในน้ำ?, นักเรียนจะแยกส่วนที่เป็นของแข็งและของเหลวออกจากกันอย่าไร? ”
-
นักเรียนทำการแยกของแข็งและของเหลว
-
ครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถาม “นักเรียนจะแยกน้ำตาลและน้ำออกจำกันอย่างไร?”
-
นักเรียนทำการทดลอง
-
นักเรียนอภิปรายร่วมกันทั้งห้อง
-
นักเรียนสรุปความเข้าใจเรื่อง สถานะของการ ลงสมุดการจัดการชุดความรู้
-
นักเรียนสรุปองค์ความรู้รายสัปดาห์
|
ภาระงาน
- การสังเกต
ตั้งคำถามและทำการทดลอง
-
การใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมกับการแยกสิ่งของนั้นๆ
- การอภิปรายร่วมกัน
-
การสรุปองค์ความรู้รายสัปดาห์
ชิ้นงาน
- ผลการทดลอง
-
สมุดการจัดการชุดความรู้
-
สรุปองค์ความรู้รายสัปดาห์
|
ความรู้
ทักษะ:
ทักษะการจัดการข้อมูล
ทักษะชีวิต
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
ทักษะการสื่อสาร
คุณลักษณะ
-
สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ผ่านการนำเสนอวิธีคิด
- มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
-
มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
-
การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
|
7
|
โจทย์: สิ่งมีชีวิตและการดำรงชีวิต
- สิ่งมีชีวิตกำเนิดขึ้นได้อย่างไร?
- โครงสร้างของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันอย่างไร?
เครื่องมือคิด :
Round Robin:
Show and Share:
Wall Thinking:
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- คลิป VDO “สิ่งมีชีวิตและการดำรงชีวิต”
- Internet
- สี/ปากกา/กระดาษ
|
-
ครูให้นักเรียนดูคลิป “สิ่งมีชีวิตและการดำรงชีวิต”
-
ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันจากคลิปที่ได้ดู
- นักเรียนจับคู่เลือกคำถามหนึ่งคำถามเพื่อศึกษาค้นคว้าพร้อมทั้งออกแบบสื่อการเรียนที่ใช้ได้จริง
- โครงสร้างและการทำงาน
ของระบบต่างๆในร่างกายแบ่งออกเป็นกี่ ระบบ
และแต่ละระบบมีการทำงานสัมพันธ์กันอย่างไร?
§ สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดประกอบขึ้นจากอะไรบ้าง และถ้าขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใดไป
สิ่งมีชีวิตนั้นจะเป็นอย่างไร?
§ ทำไมเราต้องศึกษาวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต?
§ สิ่งมีชีวิตกำเนิดขึ้นได้อย่างไร
§ โครงสร้างของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันอย่างไร?
§ ทำไมวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตต่างๆจึงแตกต่างกัน?
§ เทคโนโลยีชีวภาพมีความสำคัญอย่างไรในสังคมปัจจุบัน?
§ สิ่งมีชีวิตมีการส่งต่อความเป็นเผ่าพันธุ์ให้รุ่นลูกรุ่นหลานอย่างไร?
§ ทำไมสิ่งมีชีวิตบางชนิดถึงอยู่รอดมาถึงปัจจุบัน ขณะที่บางชนิดสูญพันธุ์?
§ เทคโนโลยีชีวภาพที่มนุษย์คิดค้นขึ้น ส่งผลต่อมนุษย์ สัตว์
และธรรมชาติอย่างไร?
§ ความหลากหลายทางชีวภาพส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตต่างๆ และโลกอย่างไร?
§ วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตและการถ่ายทอดทางพันธุกรรมส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิตอย่างไรบ้าง?
§ ทำไมปัจจัยแวดล้อมต่างๆจึงส่งผลต่อการถ่ายทอดลักษณะบางสิ่งจากรุ่นสู่รุ่น?
- นักเรียนนำเสนอชิ้นงานพร้อมทั้งอภิปรายแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน
-
นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ภาระงาน
-
การอภิปรายร่วมกันจากคลิป VDO ที่ได้ดู
-
การศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากชุดคำถามเพื่อจัดทำสื่อการเรียนรู้
-
การแลกเปลี่ยนสะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์
ชิ้นงาน
-
สื่อการเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ความรู้
เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต
ความสัมพันธ์ของโครงสร้าง และหน้าที่ของระบบต่างๆ
ของสิ่งมีชีวิตที่ทำงานสัมพันธ์กัน มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้
สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตของตนเองและดูแลสิ่งมีชีวิต
ทักษะ:
ทักษะการจัดการข้อมูล
ทักษะชีวิต
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
ทักษะการสื่อสาร
คุณลักษณะ
-
สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ผ่านการนำเสนอวิธีคิด
- มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
-
มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
-
การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
|
8
|
โจทย์: ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
Key Questions:
- สิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตต่างๆในระบบนิเวศมีความสัมพันธ์กันการอย่างไร?
- จะทำอย่างไรเมื่อความต้องการของมนุษย์อยู่เหนือข้อจำกัดของทรัพยากร?
เครื่องมือคิด :
Round Robin:
Chard and Chart:
Plate mat:
Show and Share:
Wall Thinking:
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ภาพ “ระบบนิเวศ”
- คลิป VDO สิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
- Internet
- สี/ปากกา/กระดาษ
|
- ครูให้นักเรียนดูภาพ
alt=jjjjj.jpg u2:shapes="รูปภาพ_x0020_9" v:shapes="_x0000_i1026">
alt=en.jpg u2:shapes="รูปภาพ_x0020_8" v:shapes="_x0000_i1025">
- ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกัน
-
ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “ทรัพยากรบางชนิดมีหมดไป
เช่น น้ำมันจะหมดลงในอีก 40 ปี
เราจะมีวิธีการจัดการอย่างไร?”
(Chard and Chart )
- ครูเปิดคลิป VDO สิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมให้นักเรียนดู
( https://www.youtube.com/watch?v=hlzD8_-SwAA)
- นักเรียนแบ่งกลุ่มวิเคราะห์สิ่งเรียนรู้จากภาพยนตร์ (Plate mat)
-
นักเรียนแบ่งกลุ่มหาข้อมูลเพื่อตั้งคำถามเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ภาระงาน
- การอภิปรายร่วมกันจากรูปภาพ
-
การวิเคราะห์และอภิปรายร่วมกันจากการดูภาพยนตร์
-
การตั้งคำถามเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
-
การแลกเปลี่ยนสะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์
ชิ้นงาน
- Plate matวิเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากภาพยนตร์
-คำถามเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ความรู้
เข้าใจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในระบบนิเวศ มีกระบวนการสืบเสาะ
หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้
ทักษะ:
ทักษะการจัดการข้อมูล
ทักษะชีวิต
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
ทักษะการสื่อสาร
คุณลักษณะ
-
สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ผ่านการนำเสนอวิธีคิด
- มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
-
มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
-
การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
|
9
|
โจทย์: ประมวลความเข้าใจ
Key Question
นักเรียนจะประมวนผลความเข้าใจและเผยแพร่หน่วย“การจัดการชุดความรู้”อย่างไร?
เครื่องมือคิด :
- Round Robin
- Blackboard Share
- Show and Share
- Wall Thinking
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
- ครู / นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- Internet
- สี/ปากกา/กระดาษ
|
-
นักเรียนทบทวนสิ่งที่เรียนรู้ในหน่วยการจัดการชุดความรู้ทั้งหมดผ่านเครื่องมือคิด Round Robin และBlack Board Share
-
นักเรียนทำแบ่งกลุ่ม Place
mat เนื้อหาที่ตนเองมีความเข้าใจมากที่สุด
-
นักเรียนศึกษาข้อมูลในเนื้อหาที่ตนเองยังมีความเข้าใจที่ไม่ชัดเจน พร้อมทั้งทำ Short note เพื่อสรุปความเข้าใจ
-
นักเรียนทำแบบทดสอบแต่ละเนื้อหา(อย่างละเอียด)
|
ภาระงาน
- การทบทวนสิ่งที่เรียนรู้ในหน่วยการจัดการชุดความรู้ทั้งหมด
- การทำแบ่งกลุ่ม Place mat เนื้อหาที่ตนเองมีความเข้าใจมากที่สุด
-
การศึกษาข้อมูลในเนื้อหาที่ตนเองยังตกหล่นพร้อมทั้งทำ Short noteเพื่อสรุปความเข้าใจ
-
การทำแบบทดสอบแต่ละเนื้อหา(อย่างละเอียด)
ชิ้นงาน
- Place mat เนื้อหาที่ตนเองมีความเข้าใจมากที่สุด
- Short note เนื้อหาที่ตนเองยังมีความเข้าใจที่ไม่ชัดเจน
|
ความรู้
มีเป้าหมายในการเรียนรู้เข้าใจและสามารถอธิบายกระบวนการจัดการชุดข้อมูลต่างๆพร้อมทั้งสามารถนำเสนอความเข้าใจได้ด้วยวิธีการของตนเอง
ทักษะ:
-
ทักษะการจัดการข้อมูล
- ทักษะชีวิต
-
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
- ทักษะการสื่อสาร
- ทักษะ ICT
คุณลักษณะ
-
สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ผ่านการนำเสนอวิธีคิด
- มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
-
มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
-
การเคารพและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
|
10
|
โจทย์: สรุปและเผยแพร่องค์ความรู้
Key Question
นักเรียนจะประมวนผลความเข้าใจและเผยแพร่หน่วย“การจัดการชุดความรู้”อย่างไร?
เครื่องมือคิด :
- Round Robin
- Blackboard Share
- Show and Share
- Wall Thinking
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
- ครู / นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- Internet
- สี/ปากกา/กระดาษ
|
- นักเรียนคิดว่าการถ่ายทอดความรู้ที่ดีและเกิดประโยชน์สูงสุดควรจะเป็นอย่างไร?”
- ร่วมแสดงความคิดเห็นของตนเองให้เพื่อนและครูฟังได้ร่วมรับฟังและแสดงความคิดเห็น
- นักเรียนแต่ละคนนำข้อมูลทั้งหมดที่ได้เรียนรู้ตลอด Quarter 4/58 มาลำดับความสำคัญและจัดระบบข้อมูลเพื่อใช้ในการนำเสนอ
- จัดกระทำข้อมูลในรูปแบบการนำเสนอที่น่าสนใจ
อาทิเช่น สารคดีสั้น Clip
VDO ชาร์ตภาพเรื่องราว ฯลฯ
- นำเสนอความคืบหน้าของงานตนเอง โดยให้เพื่อนและครูร่วมนำเสนอความคิดเห็น
เพื่อเพิ่มเติมประเด็นต่างๆ
- อภิปรายกิจกรรมที่ได้เรียนรู้
-
ตอบคำถามสิ่งที่อยากรู้
- สรุปองค์ความรู้หลังเรียน Quarter 4/58
-
ประเมินตนเองและสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ภาระงาน
- การแลกเปลี่ยนสิ่งที่เรียนมาทั้ง Quarter
- การเขียนสิ่งที่ดีแล้วสิ่งที่ควรพัฒนา
- การนำเสนอความเข้าใจ ผ่านละคร ,คลิปฯลฯ
- การตอบคำถามสิ่งที่อยากเรียนรู้
ชิ้นงาน
- Mind
Mapping สรุปองค์ความรู้หลังเรียน
- เขียนตอบคำถามสิ่งที่อยากเรียนรู้
- ละคร ,คลิปฯลฯ
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ความรู้
มีเป้าหมายในการเรียนรู้เข้าใจและสามารถอธิบายกระบวนการจัดการชุดข้อมูลต่างๆพร้อมทั้งสามารถนำเสนอความเข้าใจได้ด้วยวิธีการของตนเอง
ทักษะ:
-
ทักษะการจัดการข้อมูล
- ทักษะชีวิต
-
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
- ทักษะการสื่อสาร
- ทักษะ ICT
คุณลักษณะ
-
สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ผ่านการนำเสนอวิธีคิด
- มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
-
มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
-
การเคารพและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
|